วันศุกร์, 26 เมษายน 2567

วท.บ.สาขาวิชาปัญญาประดิษฐ์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563)

 

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปัญญาประดิษฐ์
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Artificial Intelligence

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (ปัญญาประดิษฐ์)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.บ. (ปัญญาประดิษฐ์)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Science (Artificial Intelligence)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Sc. (Artificial Intelligence)

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนต่างให้ความสนใจในการพัฒนาองค์กรให้มีความทันสมัย สะดวก รวดเร็วโดยการนำเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์มาปรับปรุงรูปแบบการทำงาน ซึ่งรัฐบาลได้เห็นความสำคัญจึงมีการประกาศนโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Digital Economy) เพื่อมุ่งเน้นให้เทคโนโลยีดิจิทัลอันเป็นฐานของการประยุกต์ปัญญาประดิษฐ์ช่วยส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยภาครัฐทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนนโยบายนี้ และได้จัดทำร่างแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 – 2564 เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เป็นยุทธศาสตร์ที่ 5 ซึ่งเน้นการพัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล การพัฒนาเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การรวบรวมข้อมูลที่ส่งผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้เกิดข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ที่สามารถนำไปใช้ประมวลผลให้เกิดประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาต่าง ๆ ดังนั้นประเทศจึงมีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์เพื่อเป็นกำาลังในการพัฒนาและประยุกต์ใช้ความรู้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพื่อรองรับการทำงานตามแผนยุทธศาสตร์ชาติและบ่มเพาะบุคลากรให้มีความรู้และทักษะที่เพียงพอต่อการทำางานที่ตอบสนองสู่โลกยุคใหม่ที่มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์มากขึ้น อันจะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังส าเร็จการศึกษา
1. วิศวกรปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Engineer)
2. นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist)
3. วิศวกรข้อมูล (Data Engineer)
4. วิศวกรระบบ (System Engineer)
5. วิศวกรด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI Engineer)
6. นักวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI Researcher)
7. ผู้ช านาญการด้านดิจิทัล (Digital Specialist)
8. นักนวัตกร (Innovative Designer)
9. นักวิทยาศาสตร์เชิงบูรณาการ (Integrated Scientist)